Deprecated: Function session_register() is deprecated in /srv/disk6/moommai/www/moommai.awardspace.biz/index.php on line 4

Deprecated: Function session_register() is deprecated in /srv/disk6/moommai/www/moommai.awardspace.biz/index.php on line 5
ไวยกรณ์ภาษาญี่ปุ่น

โครงสร้างประโยคพื้นฐาน

ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆในประโยคจะมี"คำช่วย"กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า

 

โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย หัวเรื่อง และส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira-wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นกริยาของประโยคที่แปลได้ว่า"เป็น" ประโยคนี้แปลคร่าวๆได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของ ประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō-wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ zō (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก)

 

ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าว ถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]"

 

แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง"เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า"บน"เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อ นอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการ ใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน

 

คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น

 

The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)

 

ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น

 

Odoroita kare-wa michi-o hashitte itta.

 

สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้ จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่า นั้น

 

คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคย ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้

 

ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生, อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น

 

ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันว่าหวังสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..."

ตัวอย่างประโยค

 

คำนาม 1 + は + คำนาม 2 + です。

 

มีความหมายว่า "คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2" ตัวอย่างเช่น

わたしは ソムチャイ です。 watashi wa somuchai desu ฉันชื่อสมชาย

わたしは タイ人 です。 watashi wa taijin desu ฉันเป็นคนไทย

 

ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は (อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น

 

あなたは 日本人 ですか? anata wa nihonjin desu ka? คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่ いいえ、中国人 です。 iie, chuugokujin desu ไม่ใช่, เป็นคนจีน

คำศัพท์

わたし watashi ฉัน
あなた anata คุณ
タイ人 taijin คนไทย
日本人 nihonjin คนญี่ปุ่น
中国人 chuugokujin คนจีน
はい hai ใช่
いいえ iie ไม่ใช่

 

ประธาน + は + กรรม + を+ กริยา

มีความหมายว่า "ประธานกระทำกริยากับกรรม" ตัวอย่างเช่น

わたしは ごはんを 食べます。 watashi wa gohan o tabemasu ฉันกินข้าว

かれは 本を 読みます。 kare wa hon o yomimasu เขาอ่านหนังสือ

 

ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค

คำศัพท์

ごはん gohan ข้าว
hon หนังสือ
食べます tabemasu กิน
読みます yomimasu อ่าน
かれ kare เขา (ผู้ชาย)

กริยารูปอดีต และปฏิเสธ

ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล(Tense)เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้

 

รูปปัจจุบัน บอกเล่า รูปอดีต บอกเล่า รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ รูปอดีต ปฏิเสธ
~ます ~ました ~ません ~ませんでした
食べます
tabemasu
食べました
tabemashita
食べません
tabemasen
食べませんでした
tabemasendeshita
飲みます
nomimasu
飲みました
nomimashita
飲みません
nomimasen
飲みませんでした
nomimasendeshita
見ます
mimasu
見ました
mimashita
見ません
mimasen
見ませんでした
mimasendeshita

 

きょう テレビを 見ます。 kyou terebi o mimasu วันนี้จะดูโทรทัศน์
きのう テレビを 見ました。 kinou terebi o mimashita เมื่อวานดูโทรทัศน์
きょう テレビを 見ません。 kyou terebi o mimasen วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์
きのう テレビを 見ませんでした。 kinou terebi o mimasendeshita เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์

 

คำศัพท์

見ます mimasu ดู
テレビ terebi โทรทัศน์
きょう kyou วันนี้
きのう kinou เมื่อวาน

คำนามและคำบ่งชี้

คำสรรพนาม

คำสรรพนามที่ใช้กันทั่วไป
บุคคลที่ รูปทั่วไป รูปสุภาพ รูปยกย่อง
หนึ่ง 僕 (boku, ผู้ชาย)
あたし (atashi, ผู้หญิง)
俺(ore,ผู้ชาย)
私 (watashi) 私 (watakushi)
สอง 君 (kimi)
お前 (omae)
貴方 (anata)
そちら (sochira)
貴方様 (anata-sama)
สาม 彼 (kare, ผู้ชาย)
彼女 (kanojo, ผู้หญิง)

 

แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึงคำสรรพนาม (代名詞 ไดเมชิ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 (se no takai kanojo หมายถึง "เธอ" ที่มีคำว่า"สูง"มาขยาย) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว

 

มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น 彼 (kare, เขา) 彼女 (kanojo, เธอ); 私 (watashi, ฉัน) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น"คำนามส่วนตัว" ไม่ใช่สรรพนาม เช่น 己 (onore, ฉัน (ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก)) หรือ 僕 (boku, ฉัน (เด็กผู้ชาย)) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ (onore) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน(ที่เป็นผู้ชาย) และ แฟน(ที่เป็นผู้หญิง) ตามลำดับ

 

คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้ พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น

「木下さんは、背が高いですね。」
Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne.
(กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) "คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ"

 

「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」
Semmu, asu Fukuoka-shi nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka?
(กำลังพูดกับผู้จัดการ) "ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?"

 

คำบ่งชี้
ko- so- a- do-
kore
อันนี้
sore
อันนั้น
are
อันโน้น
dore
อันไหน?
kono
นี้
sono
นั้น
ano
โน้น
dono
ไหน?
konna
เหมือนอย่างนี้
sonna
เหมือนอย่างนั้น
anna
เหมือนอย่างโน้น
donna
อย่างไร? เหมือนอย่างไหน
koko
ที่นี่
soko
ที่นั่น
asoko *
ที่โน่น
doko
ที่ไหน?
kochira
ทางนี้
sochira
ทางนั้น
achira
ทางโน้น
dochira
ทางไหน?

แบบนี้

แบบนั้น
ā *
แบบโน้น

แบบไหน?

 

คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น

 

  1. 「こちらは林さんです。」
  2. Kochira wa Hayashi-san desu.
  3. "นี่คือคุณฮะยะชิ"

 

คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่ เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น

 

  1. A:先日、札幌に行って来ました。
  2. A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
  3. A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา

 

  1. B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
  2. B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
  3. B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ

 

หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น

 

  1. 佐藤:田中という人が昨日死んだって…
  2. Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
  3. ซาโต้: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้…

 

  1. 森:えっ、本当?
  2. Mori: E', hontō?
  3. โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?

 

  1. 佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
  2. Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke?
  3. ซาโต้: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?

 

สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซาโต้ไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว

 

ความสุภาพ

 

ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ (ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

 

เทเนโงะ (丁寧語) (ภาษาสุภาพ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซงเคโงะ (尊敬語) (ภาษายกย่อง) และ เค็นโจโงะ (謙譲語) (ภาษาถ่อมตัว) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า "ไป" จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว

 

ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง (บริษัท, ครอบครัว) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ (แปลว่า คุณ-) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัท ถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น (คนที่อยู่นอกกลุ่ม) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน

 

คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า"การยกย่องแบบสัมพัทธ์" ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น"การยกย่องแบบสัมบูรณ์" กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป (เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า "ท่านประธานบริษัทของพวกเรา... " กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ

 

คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติม โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า (แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่ามิซุเพื่อแสดงความสุภาพก็ได้

 

ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ

 


 

Copyligt © MOOMMAI 2009

 

Webdesign by Moommai